วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563

การเขียนโครงงาน

 การเขียนโครงงาน

1. ให้นักเรียนเขียนเค้าโครงของโครงงานที่นักเรียนสนใจจะทำ ซึ่งมีหัวข้อ ดังนี้

       1.  ชื่อโครงงาน
2. 
 ชื่อผู้ทำโครงงาน
3. 
 ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน
4. 
 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
5.
  วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า
6.
  สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี)
7.
  วิธีดำเนินงาน
8. 
 แผนปฏิบัติงาน
9.
  ผลที่คาดว่าจะได้รับ
10.
 เอกสารอ้างอิง อ่านเพิ่มเติม



วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2563

การสรุปและการเผยแพร่ผลงาน

การสรุปและการเผยแพร่ผลงาน

  การแสดงผลงานจัดได้ว่าเป็นขั้นตอนสำคัญอีกประการหนึ่งของการทำโครงงานเรียกได้ว่าเป็นงานขั้นตอนสุดท้ายของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นการแสดงผลิตผลของความคิดและการปฏิบัติการทั้งหมดที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเวลาไป และเป็นวิธีการที่จะทำให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้นๆ มีผู้กล่าวกันว่าการวางแผนออกแบบ เพื่อจัดแสดงผลงานนั้นมีความสำคัญเท่าๆ กับการทำโครงงานนั้นเอง ผลงานที่ทำจะดียอดเยี่ยมเพียงใด แต่ถ้าการจัดแสดงผลงานทำได้ไม่ดีก็เท่ากับไม่ได้แสดงถึงความยอดเยี่ยมของผลงานนั้นเลย อ่านเพิ่มเติม

การดำเนินงาน

    การดำเนินงาน คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจจะทำ โดยทั่วไปเรื่องที่จะมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์มักได้จากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่าง ๆ จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ อ่านเพิ่มเติม


การวางแผนและออกแบบโครงงาน

 การวางแผนและออกแบบโครงงาน


หลังจากกำหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขต และแนวทางในการพัฒนาโครงงานแล้ว ควรวางแผนการพัฒนาโครงงานตามขั้นตอนต่างๆ ให้รอบครอบ รัดกุม

การศึกษาและกำหนดขอบเขตของปัญหา

การศึกษาและกำหนดขอบเขตของปัญหา การวิจัยทุกเรื่องจะต้องมีขอบเขตของการศึกษา เพื่อให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องผู้วิจัยไม่สามารถทำการวิจัยได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อได้ปัญหาที่จะทำการวิจัยแน่นอนแล้ว ผู้วิจัยจะต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้ชัดเจนว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง  โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของปัญหาการวิจัยว่าจะศึกษาในเรื่องใด ศึกษากับใคร และศึกษาแง่มุมใด ทั้งนี้เพื่อตีกรอบความคิดของผู้วิจัยและผู้อ่านให้อยู่ในวงที่จำกัดไว้ อ่านเิ่มเติม


การกำหนดปัญหา

การกำหนดปัญหา คืออะไร

 

การกำหนดปัญหางานวิจัย คือ การพิจารณาถึงปัญหาหรือหัวข้อที่เราสนใจต้องการจะศึกษา ว่าหัวข้อนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร ต้องการทดสอบหรือหาคำตอบเรื่องอะไร เพื่อเป็นการระบุชื่อเรื่องงานวิจัยให้ชัดเจน และเข้าใจตรงกันว่าจะศึกษาเรื่องใด ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญที่สุดในกระบวนการวิจัย เพราะผู้วิจัยต้องกำหนดปัญหาของงานวิจัย ให้สามารถได้มาซึ่งคำตอบของสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาค้นคว้า ซึ่งการกำหนดปัญหาของงานวิจัยควรมีการศึกษาสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ อ่านเพิ่มเติม 


การจัดเรียงและค้นหาข้อมูล

การจัดเรียงและค้นหาข้อมูล การจัดเรียงข้อมูล เป็นการจัดการข้อมูลที่กระทำกันมากในงานประยุกต์ต่างๆ  เช่น การทำข้อมูลนักศึกษามาจัดเลียงลำดับรหัสนักศึกษา เพื่อนำไปใช้ในการพิมพ์ใบเซ็นชื่อเข้าสอบหรือการเรียงข้อมูลพนักงานตามรหัสพนักงานเพื่อใช้งการพิมพ์สลิปเงินเดือน อ่านเพิ่มเติม


การทําซ้ํา

  การทําซ้ำ ลักษณะ ของขั้นตอนวิธีการทำงาน นอกจากขั้นตอนวิธีการทำงานแบบลำดับแลละขั้นตอนวิธีแบบเลือกทำแล้ว ยังมีลักษณะการทำงานของขั้นตอนวิธีอีกลักษณะหนึ่ง คือ ขั้นตอนวิธีการทำงานแบบทำซ้ำ ขั้นตอนวิธีการทำงานแบบทำซ้ำใช้สำหรับกรณีที่ต้องการทำกระบวนการต่าง ๆ ซ้ำกันหลายครั้ง โดยมีการตรวจสอบเงื่อนไขสำหรับการตัดสินใจ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนของการทำซ้ำ หรือออกจากขั้นตอนของการทำซ้ำ การเขียนขั้นตอนวิธีสำหรับการทำงานแบบทำซ้ำ ได้รับการพัฒนามาจากโครงสร้างผังงานการทำซ้ำ

อ่านเพิ่มเติม


การออกแบบขั้นตอนวิธี

  การออกแบบขั้นตอนวิธี (algorithm development) เป็นการออกแบบขั้นตอนในการแก้ปัญหา ซึ่งในปัญหาเดียวกันอาจมีการออกแบบคำสั่งที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้แก้ไข แต่หากได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องแล้ว ก็ถือว่าขั้นตอนวิธีสามารถแก้ไขปัญหาได้ การออกแบบขั้นตอนวิธี มีเครื่องมือในการนำเสนอขั้นตอนวิธี อ่านเพิ่มเติม


การระบุข้อมูลเข้า ข้อมูลออก และเงื่อนไขของปัญหา

 การระบุข้อมูลเข้า ข้อมูลออก และเงื่อนไขของปัญหา 

การแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์นั่น ก่อนที่ระบุขั้นตอนวิธีที่ชัดเจนได้ จะต้องวิเคราะห์และทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อให้ทราบว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่สามารถใช้ในการประมวลผลได้ มีเงื่อนไขต่างๆ อ่านเพิ่มเติม

การแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์

การแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำตามโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาทุกประการ ดังนั้นการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วยสำหรับการแก้ปัญหา จึงต้องมีโปรแกรมสำหรับการแก้ปัญหานั้น เพื่อสั่งการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ ผู้ที่ทำการเขียนโปรแกรมจึงต้องทราบถึงวิธีการของการแก้ปัญหาที่ต้องการแก้ไขทุกขั้นตอน จากนั้นจึงทำการเรียบเรียงลำดับขั้นตอนวิธีการทำงานตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย แล้วนำขั้นตอนวิธีที่ได้เรียบเรียงขึ้นมาเขียนเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่อไป

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้มีการเตรียมการไว้ก่อน โดยทำการเขียนโปรแกรมตามความคิดในขณะนั้น ไม่ได้มีการวางแผนหรือการจดบันทึกขั้นตอนวิธีการทำงานของโปรแกรมที่เขียนขึ้นสำหรับเป็นเอกสารอ้างอิง เป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้เสียเวลาในการเขียนโปรแกรมเพิ่มมากขึ้น อ่านเพิ่มเติม

การเขียนโครงงาน

 การเขียนโครงงาน 1 .   ให้นักเรียนเขียนเค้าโครงของโครงงานที่นักเรียนสนใจจะทำ ซึ่งมีหัวข้อ ดังนี้         1.     ชื่อโครงงาน 2.     ชื่อผู้ทำ...